การควบคุมวัชพืชในไร่อ้อย

 

     วัชพืชเป็นศัตรูอ้อย ที่ทำความเสียหายให้กับอ้อยมากที่สุดหลังจากปลูกอ้อยแล้วถ้าไม่มีการกำจัดวัชพืชจะทำ ให้ผลผลิตอ้อยลดลงถึง 80% หรือมากกว่านั้นความเสียหายขึ้นอยู่กับปริมาณวัชพืชที่ขึ้นเบียดบังอ้อย ว่ามีมาก ้อยเพียงใรและความสามารถในการแข่งขันกับ วัชพืชของอ้อยแต่ละพันธุ์ วัชพืชจะแก่งแย่งธาตุอาหารในดิน ความชื้นและแสงแดดที่อ้อยควรจะได้รับทำให้อ้อยมีการแตกกอและความยาวของลำอ้อยลดลงอีกทั้งยังเป็นที่อยู่อาศัยของแมลงศัตรูอ้อยชนิดอื่น ได้แก่โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส และไฟโตรพลาสม่า แมลงพาหะ นำโรค แมลงศัตรูอ้อย ละหนูนอกจากนี้วัชพืชบางชนิดมีรากและส่วนลำต้นใต้ดิน ที่ขับสารบางอย่างที่มีผลต่อการเติบโตของอ้อย เช่น วัชพืชใบกว้างในวงศ์ Compositae ากจะขับสารพิษชนิดหนึ่งที่จะทำให้รากอ้อยชะงักการเติบโต พบว่าวัชพืช Aeginetiainddica เป็น รากที่แย่งอาหารและน้ำจากอ้อยทำให้เปอร์เซ็นต์น้ำตาลในอ้อยลดลง

     วัชพืชในไร่อ้อยแบ่งได้ 3 ประเภทดังนี้ วัชพืชใบแคบ วัชพืชใบกว้าง และกก ไร่อ้อยที่มีประชากรวัชพืชน้อย หลังจากปลูกควรปลอดจากวัชพืชภายใน 45 วัน ส่วนไร่อ้อยที่มีประชากรวัชพืชมากควรที่จะปลอดจากวัชพืชภายใน 90 วันในการป้องกันกำจัดวัชพืชจะต้องรู้จักชนิดของวัชพืชว่าเป็นวัชพืชชนิดใดเพื่อได้ป้องกันกำจัดถูกวิธี(โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การใช้สารเคมีในการกำจัดวัชพืช) การกำจัดวัชพืชในไร่อ้อย(วีธีการทางเขตกรรม) เริ่มตั้งแต่การเตียมดินด้วยการไถกลบวัชพืช อาจต้องทำหลายครั้งถ้ามีวัชพืชขึ้นมาก และก่อนการปลูกอ้อย ก็จะมีการไถพรวนอีกครั้งแล้วจึงยกร่อยปลูกอ้อย (ปลูกในร่อง) หรือถ้าใช้เครื่องมือปลูกก็ไม่ต้องยกร่อง คือหลังจาก ไถพรวน 1 ครั้งแล้วปลูกอ้อยตามเมื่ออ้อยงอกแล้ว ถ้ามีวัชพืชก็ใช้แรงงานทำรุ่นระหว่างแถวและกออ้อย จะกระทั่งใบอ้อยคลุมพี้นดินได้ หมด หรืออาจใช้แรงงานสัตว์ รถไถเดินตาม รถแทรคเตอร์(ใช้หน้ายางเล็กและยกตัวรถสูงพ้นพุ่มใบ) เข้าไถพรวนหรืออาจใช้จอบหมุนที่ เว้นใบมีตที่ตรงกับแถวอ้อย เพื่อใช้สับวัชพืชคลุกเคล้าลงในดิน เพื่อเป็นการกำจัดวัชพืชระหว่างแถว การควบุคุมวัชพืชในไร่อ้อยด้วยวิธี เขตกรรม นิยมปฏิบัติกันในพื้นที่ที่เป็นดินร่วน ดินทราย ที่ปลูกอาศัยน้ำฝน เช่น ภาคตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากพื้นที่ ส่วนมากเป็นดินทราย ทำให้สารกำจัดวัชพืชถูกชะล้างได้ง่าย ทำให้สารควบคุมกำจัดวัชพืช ได้ผลไม่ค่อยดีหรือควบคุมวัชพืชได้ไม่นาน
ซึ่งสาเหตุหนึ่งเกิดมาจากหน้าดินไม่มีความชื้นหลังจากปลูกข้อดีของวิธีการนี้ คือ อ้อยได้รับผลกระทบน้อย หรือเป็นพิษต่ออ้อย

เมื่อเทียบกับการใช้สารเคมี
ข้อเสีย คือวิธีการนี้กำจัดเมล็ดวัชพืชที่งอกขึ้นมาใหม่ไม่ได้ อีกทั้งแรงงานหายากมีราคาแพง การใช้รถไถกลบวัชพืชทำไม่สะดวก เมื่อ
อ้อยมีลำต้นที่สูงและมีการแตกกอมากทำให้หน่อถูกเหยียบยำได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงกลับรถแทรคเตอร์

 
 
Home | About | News | Product | Jobs | Contact
Copyright © 2009 . All Rights Reserved.
 
 
     
KI SUGAR GROUP ®.