การปลูกอ้อยตามแนวระดับ เพื่อลดการพังทะลายของหน้าดิน
 

แปลงสาธิต บ้านตะบอง

     ปัญหาการชะล้างพังทลายของดิน
     กระบวนการชะล้างพังทลายของดินเกิดขึ้นโดยมีน้ำเป็นตัวการสำคัญที่สุด น้ำมีอิทธิพลต่อการชะล้างนับตั้งแต่อยู่ในสภาพของ
เม็ดฝนที่ตกมากระทบผิวดิน น้ำที่มีอยู่ในดินทำให้ดินอ่อนตัว ง่ายต่อการถูกชะล้าง จึงเกิดการไหลบ่าของน้ำลงสู่ที่ต่ำ การชะล้าง
พังทลายที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติจะมีลักษณะค่อยเป็นค่อยไป แต่มนุษย์จะเป็นตัวเร่งอัตราการชะล้างพังทลายสูงกว่าที่เกิดขึ้น
เองโดยธรรมชาติหลายเท่าตัว กิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ ที่เป็นตัวเร่งมีหลายประการ ได้แก่ การใช้ที่ดินไม่ตรงตามสมรรถนะของ
ดิน การทำการเกษตรผิดวิธี

ผลเสียหายที่เกิดจากการชะล้างพังทลายของดิน ได้แก่
1) ผลผลิตทางการเกษตรลดลง เพราะน้ำเป็นตัวการสำคัญที่พัดพาเอาธาตุอาหารของพืช ซึ่งอยู่บริเวณผิวหน้าดินให้หมดไป หากต้องการทำการเกษตรในพื้นที่ที่ดินสูญเสียความอุดมสมบูรณ์ไปแล้ว และต้องการให้ได้ผลดีเช่นเดิม ควรมีการป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน มากกว่าการปรับปรุงดินที่ถูกชะล้างพังทลายแล้ว
2) เกิดการทับถมของตะกอนดินในพื้นที่ที่ต่ำกว่า ทำให้แม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง อ่างเก็บน้ำ เกิดการตื้นเขิน ลดความสามารถในการกักเก็บน้ำ อาจก่อให้เกิดสภาวะน้ำท่วมอย่างฉับพลัน แม่น้ำบางสายอาจมีปัญหาต้องเสียค่าใช้จ่ายในการขุดลอกร่องน้ำ
3) ทำให้การใช้ประโยชน์ที่ดินลำบากขึ้น เมื่อน้ำกัดเซาะพื้นที่ดินทำให้เกิดเป็นร่องทั้งเล็กและใหญ่ มีผลทำให้เกิดความยากลำบากต่อการไถพรวน



วิธีการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินในการปลูกอ้อย
     การป้องกันแก้ไขการชะล้างพังทลายของดินนั้น ต้องทำตั้งแต่การลดพลังงานของเม็ดฝนที่ตกลงมากระแทกผิวดิน จนถึงการควบคุมการไหลของน้ำ วิธีการป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน สามารถทำได้หลายวิธีด้วยกัน แต่การปลูกอ้อยในพื้นที่ลาด การทำ contour หรือการปลูกพืชตามแนวระดับ เป็นการลดการชะล้างที่เกิดจากน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด

 

 
 
Home | About | News | Product | Jobs | Contact
Copyright © 2009 . All Rights Reserved.
 
 
     
KI SUGAR GROUP ®.