นโยบายที่ 1 การเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน ให้มีพลังงานใช้อย่างเพียงพอต่อการพัฒนาประเทศ ละให้พึ่งพาตนเองทางพลังงาน
ได้มากขึ้นด้วยการตั้งเป้าหมายการสำรวจและผลิตน้ำมันดิบ-คอนเดนเสตเพิ่มเป็น 250,000 บาร์เรล/วัน ภายใน ปี 2554 และเร่งรัดแหล่ง
ก๊าซ JDA ; B-17 ให้เข้าระบบตามกำหนด ส่วนในเรื่องของไฟฟ้านั้นจะส่งเสริมให้มีระบบผลิตในประเทศให้มากขึ้นโดยเฉพาะ SPP และVSPP ที่ผลิตจากพลังงานหมุนเวียน มีการบริหารจัดการก๊าซหุงต้ม หรือ LPG เพื่อป้องกันการขาดแคลนด้วยการศึกษาวางแผนเกี่ยวกับ
แนวทางและปริมาณการสำรองก๊าซให้เหมาะสมกับความต้องการ ในปัจจุบัน การปรับแผน PDP เนื่องจากปัจจุบันปริมาณไฟฟ้าสำรองอยู่
ในเกณฑ์สูงกว่า 20%
จัดให้มีการศึกษาพลังงานนิวเคลียร์อย่างละเอียดโดยต้องมีคำตอบที่ชัดเจนใน 2 ประเด็นหลัก คือ 1) ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ และ
สังคม 2) การยอมรับของประชาชน การกระจายความเสี่ยงด้านพลังงาน และส่งเสริมการต่อยอดอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและโอเลโอเคมี
ีให้บูรณาการเข้ากับการพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพให้เป็นอุตสาหกรรมใหม่ของประเทศ เช่น อุตสาหกรรมโอเลโอเคมี
นโยบายที่ 2 กำกับดูแลราคาพลังงานให้มีความเหมาะสม มีเสถียรภาพ สอดคล้องกับสถานการณ์ มีการกำกับนโยบายราคาและโครงสร้าง
ราคาน้ำมัน ให้เป็นไปตามกลไกตลาดโลก สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง กำหนดราคาก๊าซ LPG ให้สะท้อนต้นทุนและปริมาณการใช้ที่ แท้จริง
โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมและขนส่ง แต่สำหรับภาคครัวเรือนที่นำ LPG มาใช้ในการหุงต้ม จะยังคงรักษาระดับราคาตามนโยบาย 6
มาตรการ 6 เดือนไว้ก่อน ส่งเสริมให้มีการจัดตั้งสำนักงาน พลังงานจังหวัดให้ครบทุกจังหวัดเพื่อ เป็นผู้แทนในการติดตามการดำเนินการ
งานด้านนโยบายต่างๆ ของกระทรวงพลังงาน
นโยบายที่ 3 ส่งเสริมและวิจัยพัฒนาพลังงานทดแทนทุกรูปแบบอย่างต่อเนื่อง โดยเร่งรัด"แผนแม่บทพัฒนาพลังงานทดแทน 15 ปีหรือ
REDP" ตามที่ได้มีการยกร่างไว้ เดินหน้าเต็มตัวในการส่งเสริม เอทานอลและไบโอดีเซล ด้าน NGV ได้เตรียมการรองรับการขยายตัว
ลดปัญหา "ก๊าซหมด" "คิวยาว" และ "หาปั๊มยาก" โดยบริหารจัดการและจัดระเบียบสถานีบริการ รวมทั้งเร่งรัดการก่อสร้างสถานีแม่
ส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน พิจารณาเพิ่มเติมมาตรการ จูงใจที่เหมาะสมนอกเหนือจาก "adder" ด้านพลังงานทดแทน
ระดับชุมชน ส่งเสริมการพัฒนาให้เกิด "หมู่บ้านพลังงานต้นแบบ"
นโยบายที่ 4 การเน้นการสร้างวินัย ด้านการประหยัดพลังงานให้เป็นวัฒนธรรมของคนในชาติ และส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(อปท.) เป็น แกนกลางในการเผยแพร่ "วัฒนธรรมการประหยัดพลังงาน" ด้วยการเร่งรัดการดำเนินการตามแผนอนุรักษ์พลังงานในระยะที่
3 (2548-2554) ที่ได้ปรับเป้าหมายการประหยัดพลังงานจาก 10.8% เป็น 20% พร้อมเร่งรัด 11 มาตรการประหยัดพลังงาน เพื่อ
ประชาชน ให้เกิดผลเป็น รูปธรรมโดยเร็ว โดยตั้งเป้าหมายใน ปี 2554 ให้เกิดผลประหยัดพลังงาน 100,000 ล้านบาท/ปี
นโยบายที่ 5 การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากกิจการพลังงาน ทั้งจากกระบวนการผลิตและการใช้พร้อมทั้งส่งเสริมการลดภาวะ
โลกร้อน และสนับสนุนกลไกการพัฒนาที่สะอาด (CDM-clean development mechanism) อาทิ การสนับสนุนโครงการ CDM ด้าน
พลังงานให้เกิดผลการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ไม่น้อยกว่า 1 ล้านตัน/ปี
ที่มา : www.matichon.co.th/phachachart |