คลอดยุทธศาสตร์ฯ อ้อยและมัน

 

นายธีระชัย แสนแก้ว รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ เปิดเผยถึงความคืบหน้าในการจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาอ้อย และมันสำปะหลังเป็นพลังงานทดแทนว่า หลังจากที่ได้มีการจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการระดมความคิดเห็นจากเกษตรกร นักวิชาการ และ ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ และเอกชน เพื่อจัดทำเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาอ้อยและมันสำปะหลัง เป็นพลังงานทดแทนที่ เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2551 ที่ผ่านมา กระทรวงเกษตรฯโดยกรมวิชาการเกษตร ได้นำผลจากการสัมมนาตามยุทธศาสตร์การพัฒนาอ้อยและมันสำปะหลังเป็นพลังงานทดแทนดังกล่าว ไปชี้แจงและรับฟังความคิดเห็นจากเกษตรกร และผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ และเอกชน รวมประมาณ 20,000 คน ในส่วนกลางและในพื้นที่จังหวัดเป้าหมายมาแล้ว 9 จังหวัดคือ จังหวัดนครราชสีมา สุรินทร์ ลพบุร ีสกลนคร อุดรธานี ขอนแก่น อุบลราชธานี กำแพงเพชร ชัยภูมิ และครั้งสุดท้ายเป็นครั้งที่ 11 ที่จังหวัดกาญจนบุรี จะเป็นการสัมมนาสรุป ในส่วนของยุทธศาสตร์การพัฒนาอ้อยเป็นพืชพลังงาน หลังจากก่อนหน้านี้ได้มีการสรุปยุทธศาสตร์การพัฒนามันสำปะหลังเป็นพืชพลังงาน มาแล้ว ทั้งนี้เพื่อที่จะให้การพัฒนาอ้อยและมันสำปะหลังเป็นพลังงานทดแทน สามารถนำมาปฏิบัติได้จริง และเห็นผลเป็นรูปธรรม เป็นที่
ยอมรับจากเกษตรกร และผู้ที่เกี่ยวข้อง

“หลังจากได้ผลสรุปยุทธศาสตร์การพัฒนาอ้อยและมันสำปะหลังเป็นพลังงานทดแทน ที่สมบูรณ์แล้วจะนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาเห็นชอบ และให้การสนับสนุนต่อไป” รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรฯ กล่าว สำหรับยุทธศาสตร์การพัฒนาอ้อย และ มันสำปะหลังเป็นพลังงานทดแทน ได้กำหนดเป้าหมายที่จะเพิ่มผลผลิตโดยไม่เพิ่มพื้นที่เพาะปลูก และนำผลผลิตที่เพิ่มขึ้นไปใช้ผลิตเอทานอลเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทน ซึ่งจะไม่ไปแย่งสัดส่วนของ วัตถุดิบในการผลิตอาหารและการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังและอ้อย นั้น จะต้องมีการปรับปรุงขยายพันธุ์ดีให้เพียงพอและเหมาะสมกับความต้องการของเกษตรกร รวมทั้งส่งเสริมสนับสนุนใช้เทคโนโลย ีการผลิต ที่เหมาะสม และการบริหารจัดการผลผลิตที่ดี ตลอดจนการสร้างเกษตรกรรุ่นใหม่ ที่มีความรู้ในเรื่องมันสำปะหลังและอ้อยโดยมี เป้าหมายที่จะเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังให้ได้ เฉลี่ย 4.4 ตันต่อไร่ในปี 2552 และเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องให้ได้เฉลี่ย 5.4 ตันต่อไร่ในปี 2554 ส่วนอ้อยมีเป้าหมายที่จะยกระดับผลผลิตในพื้นที่เป้าหมาย 1 ล้านไร่ ให้ได้ 13 ตันต่อไร่ในปี 2552 และเพิ่มเป็น 15 ตันต่อไร่ ในปี 2555 นอกจากนี้ กระทรวงเกษตรฯ จะต้องประสานในลักษณะบูรณาการกับหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำการส่งเสริมการผลิตเอทานอล ส่งเสริมการใช้เอทานอล การส่งออก และการจัดโครงสร้างการบริการจัดการอุตสาหกรรมเอทานอล ตลอดจนปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย และ ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับเอทานอลให้เหมาะสม เพื่อที่จะผลักดันให้ประเทศไทยเป็นโอเปกในด้านพืชพลังงานต่อไป.

 

 

ที่มา : www.dailnews.co.th

 
 
Home | About | News | Product | Jobs | Contact
Copyright © 2009 . All Rights Reserved.
 
 
     
KI SUGAR GROUP ®.