• หน้าหลัก
  • ก้อนขาว STORY
    • ก้อนขาวสตอรี่
    • สื่อสิ่งพิมพ์
  • เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์
    • ข้อมูลบริษัท
    • รางวัลแห่งคุณภาพ
    • ธุรกิจน้ำตาล
    • ธุรกิจพลังงาน
    • ความรับผิดชอบต่อผลิตภัณฑ์
  • ความยั่งยืน
    • มาตรฐาน Bonsucro
    • CSR - ความรับผิดชอบต่อสังคม
    • ของเสียเป็นศูนย์
    • วิจัยและพัฒนา
    • ชาวไร่ต้นแบบ
  • ร่วมงานกับเรา

  • ติดต่อเรา

ความยั่งยืน

KI Sugar Group

  • BONSUCRO - มาตรฐานการผลิต
  • CSR - ความรับผิดชอบต่อสังคม
  • ของเสียเป็นศูนย์
  • วิจัยและพัฒนา
  • ชาวไร่ต้นแบบ

BONSUCRO

“Bonsucro” มาตรฐานการผลิตอ้อยและน้ำตาลอย่างยั่งยืน

น้ำตาลคือจุดเริ่มต้นของครอบครัว




Bonsucro
มาตรฐานการผลิตอ้อยและน้ำตาลอย่างยั่งยืน

Bonsucro เกิดจากการรวมกลุ่มของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมกันโดยไม่มุ่งหวังผลกําไร ที่มีเจตนารมณ์ร่วมกันในการลดผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมจากการผลิตอ้อยและน้ำตาลทราย โดยในขณะเดียวกันก็ตระหนักถึงความความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ

Bonsucro คือการสร้างความยั่งยืนให้กับห่วงโซ่อุปทานของธุรกิจอ้อยและนํ้าตาล ให้มีการปรับปรุงประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดประสิทธิผลอย่างยั่งยืน บนเสาหลักของความยั่งยืน 3 ประการ ซึ่งได้แก่ ความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ ความรับผิดชอบต่อสังคม และความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม.



ทำไมต้อง BONSUCRO

“แค่คุณภาพไม่พอ สังคม ชุมชนและสิ่งแวดล้อมต้องดี และพนักงานต้องมีสุขด้วย” คือหนึ่งในวิสัยทัศน์ของกลุ่มน้ำตาลเคไอ ทำให้เรามุ่งมั่นในการผลิตทั้งในส่วนของน้ำตาลทราย ไฟฟ้า และเอทานอล ให้มีคุณภาพควบคู่ไปกับการอยู่ร่วมกับชุมชนและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เพื่อให้วิสัยทัศน์ สามารถสะท้อนออกมาอย่างเป็นรูปธรรม กลุ่มน้ำตาลเคไอ จึงเลือกใช้มาตรฐาน Bonsucro มาใช้ในการพัฒนาประสิทธิภาพห่วงโซ่อุปทานของธุรกิจและเป็นบรรทัดฐานของการรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน



BONSUCRO
 ใส่ใจสังคม สิ่งแวดล้อม อย่างไร

1. พื้นที่เพาะปลูกอ้อยต้องไม่อยู่ในพื้นที่ป่าไม้ ไม่ว่าจะเป็นเขตอุทยาน วนอุทยาน ป่าสงวน ป่าอนุรักษ์ พื้นที่ต้นน้ำ หรือ พื้นที่อันมีคุณค่าทางวัฒนธรรม
2. พื้นที่ปลูกอ้อยต้องมีเอกสารสิทธิ์ที่ถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้นไม่ว่าการเช่าหรือพื้นที่ของตนเอง
3. การใช้น้ำทั้งในการปลูกอ้อยและในโรงงานต้องดำเนินการอย่างถูกต้องและมีใบอนุญาตการใช้น้ำ และ ใช้อย่างคุ้มค่า
4. ต้องไม่ใช้แรงงานเด็ก แรงงานบังคับในกระบวนการผลิตอ้อยและน้ำตาล
5. ต้องมีการควบคุมอายุแรงงาน โดยงานอันตรายแรงงานต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี งานไม่อันตรายแรงงานต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี
6. ต้องไม่มีการแบ่งแยกเพศ สีผิว เชื้อชาติ ของแรงงาน
7. นายจ้างต้องจัดเตรียมน้ำดื่มสะอาดไว้ให้ลูกจ้างอย่างเพียงพอเพื่อการบริโภคตลอดทั้งวัน
8. นายจ้างต้องจัดเตรียมอุปกรณ์ความปลอดภัยส่วนบุคคลให้กับแรงงานตามประเภทของงาน
9. ลูกจ้างในภาคการเกษตร (ปลูกอ้อย บำรุงรักษาอ้อย เก็บเกี่ยว) จะต้องรับทราบและปฏิบัติตามความปลอดภัยในการทำงาน
10. นายจ้างต้องจัดเตรียมอุปกรณ์ปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับแรงงานในกรณีเกิดอุบัติเหตุ
11. ลูกจ้างในภาคการเกษตร (ปลูกอ้อย บำรุงรักษาอ้อย เก็บเกี่ยว) จะต้องรับทราบและเห็นชอบในอัตราค่าจ้างก่อนการมาทำงาน (หากสามารถบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรได้จะดีมาก)
12. การใช้สารเคมีในไร่อ้อยทุกชนิดรวมกันต้องไม่เกิน 800 กรัมของสารออกฤทธิ์ /ไร่/ปี
13. ต้องไม่ใช้สารเคมีต้องห้ามในไร่อ้อย เช่น ฟูราดาน เป็นต้น
14. งดการเผาอ้อย ตัดสดไว้ใบ

จรรยาบรรณทางธุรกิจ
Top